เพลงสำหรับเด็ก

นิทานสำหรับเด็ก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
5111207444 ค.บ.511(5)/5 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

19 ธันวาคม 2552

ตรวจสอบรายละเอียดงาน

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2552
1. อาจารย์ได้ตรวจสอบเนื้อหา รายละเอียดของงานในหัวข้อที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย และได้แนะนำ ยกตัวอย่างข้อมูลในหัวข้อต่างๆ
2. อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันสนทนา อภิปราย ซักถามในเนื้อเรื่องที่เรียน
- กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์
- ช่วงเวลาที่จะนำภาษาไปใช้กับเด็ก
- เพลงสำหรับเด็ก
- การเสริมทักษะการใช้นิ้วมือ
3. ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ผู้สอนได้สอนร้องเพลง มีการใช้นำเสียงหนักเบา ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น สำหรับนักศึกษาบางส่วนไม่ค่อยร่วมแสดงความคิดเห็น บรรยากาศก็มีความสนุกสนาน ได้ฝึกคิด แสดงความคิดเห็นโต้ตอบ และได้รับความรู้ด้วย

^_^

13 ธันวาคม 2552

เพิ่มเติม Blog

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2552
1. อาจารย์แนะนำการเพิ่มเติมองค์ประกอบ Blog
- นิทานสำหรับเด็ก
- เพลงสำหรับเด็ก
2. อาจารย์สั่งงานให้ศึกษาค้นคว้าในหัวข้อเรื่องที่ได้รับมอบหมาย
- ลักษณะของภาษา

^_^

4 ธันวาคม 2552

การนำเสนองาน

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2552
แต่ละกลุ่มนำเสนองานจากการศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่ม 1 ความหมายของภาษา
ภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ เช่น คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ภาษามี 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษา
ความสำคัญของภาษา
- ทำให้สื่อสารได้เข้าใจตรงกัน
- ทำให้เกิดความสัมพันธ์ ความเข้าใจ ความรักกันในชุมชนที่มีวัฒนธรรมการใช้ภาษาเดียวกัน
กลุ่ม 2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
เพียเจต์ กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
เพียเจต์แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการ ดังนี้
ขั้นที่ 1 (แรกเกิด-2ปี) ใช้ประสาทสัมผัสและเคลื่อนไหว
ขั้นที่ 2 (2-7ปี) คิดก่อนปฏิบัติการ
ขั้นที่ 3 (7ปีขึ้นไป) คิดแบบรูปธรรม
ขั้นที่ 4 คิดแบบนามธรรม
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา
- เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
- ให้เด็กได้ใช้ภาษาโดยการพูดคุย สอบถาม เพราะภาษามีความสำคัญต่อการพัฒนาสติปัญญา
บรูเนอร์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของคนจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางสมอง จึงควรส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือกระทำ
บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาและการคิด ออกเป็น 3 ขั้น
1. ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ
3. ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์
กลุ่ม 3 จิตวิทยาการเรียนรู้
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
- แรงขับ เป็นพลังความต้องการภายในตัวบุคคล
- สิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้น
- การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาที่แสดงออกเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
- การเสริมแรง เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลที่มีผลในการเพิ่มพลัง
กลุ่ม 4 แนวคิดนักการศึกษา
กลุ่ม 5 หลักการการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

^_^

27 พฤศจิกายน 2552

รับเอกสาร

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2552
ได้รับเอกสารความรู้ และสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
เทคนิคการสอน
การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช่เพียงการสอนแต่ทักษะการอ่านและการเขียนเท่านั้น แต่รวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย เพราะการฟังและการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียน
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1. ครูจะต้องทราบว่าเด็กเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร
2. ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3. เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
4. เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าสอนแบบ Whole Language
5. เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้ามาจากการตัดสินใจของเด็กเอง
6. ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียนนั้นๆ ครูต้องไม่จัดกลุ่มให้นักเรียนเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับตัวเองและผู้อื่น
7. ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตอนนี้ตังเองกำลังถูกแข่งขัน เพราะเด็กจะรู้สึกกดดัน
8. ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆ กันและเกี่ยวข้องกัน
9. ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1. เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก
2. ให้ความเคารพและยอมรับภาษาที่เด็กใช้
3. การประเมินโดยการสังเกต
4. ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม
5. เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง
6. ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงตน
7. สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จ ช่วยเหลือ และให้กำลังใจ
8. ให้เด็กอ่านสิ่งที่เด็กคุ้นเคย สามารถเดาและคาดคะเนได้
9. อ่านให้เด็กฟังจากแหล่งต่างๆ
10. จัดประสบการณ์การอ่าน และส่งเสริมเด็กให้ลงมือกระทำ
11. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักเสี่ยง กล้าลองผิดลองถูก
12. พัฒนาทางด้านจิตพิสัยและพัฒนาการทางความคิดของเด็กให้เด็กมีความรักในภาษา
ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
1. ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว
2. ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3. การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้อยู่แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้สามารถจำคำต่างๆ ได้

^_^

20 พฤศจิกายน 2552

แม้ไม่ได้เรียน

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2552
เนื่องจากในวันนี้อาจารย์มีภารกิจสำคัญที่ต้องไปทำ จึงไม่ได้มีการเรียนการสอนในห้องเรียน อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษา ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรายวิชานี้

^_^

13 พฤศจิกายน 2552

การเรียนครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2552
แบ่งกลุ่ม 4-5 คน ศึกษาค้นคว้างาน เรื่องแนวคิดนักการศึกษา
การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) หมายถึง การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น การสอนจะไม่แยกสอนส่วนย่อยของภาษาทีละส่วนแต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน แล้วจึงเรียนรู้ด้านโครงสร้างภาษาภายหลัง ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ ผู้สอนต้องยอมรับความแตกต่างด้านการออกเสียงที่เป็นสำเนียงภาษาถิ่น(dialects) ในเบื้องต้น แล้วจึงพัฒนาให้ถูกต้องในโอกาสต่อไป การสอนภาษาแบบองค์รวมจะเน้นการนำรวมวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภาษาที่หลากหลาย สามารถนำไปเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาของตนเองและใช้ได้ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวมจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยึดหลักการประชาธิปไตยในชั้นเรียน

แหล่งข้อมูล http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=monsawan&month=11-08-2007&group=6&gblog=1

^_^

6 พฤศจิกายน 2552

การเรียนครั้งที่ 1

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2552
1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับด้านภาษา เพื่อให้เกิดประสบการณ์เพื่อใช้สำหรับสื่อสารในชีวิตประจำวัน
2.บรรยากาศในการเรียนการสอน สถานที่ห้องเรียนเหมาะสม สะดวก เอื้ออำนวยในการเรียนการสอน สื่ออุปกรณ์มีความเพียบพร้อม ผู้เรียนมีความสนใจ ตั้งใจ ผู้สอนมีวิธีการสอนที่ชัดเจน น่าสนใจ
3.การจัดกิจกรรมทางด้านภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ
สรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างข้อ1.กับข้อ3. มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันในเรื่องการจัดกิจกรรมทางด้านภาษา


^_^