เพลงสำหรับเด็ก

นิทานสำหรับเด็ก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
5111207444 ค.บ.511(5)/5 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

19 ธันวาคม 2552

ตรวจสอบรายละเอียดงาน

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2552
1. อาจารย์ได้ตรวจสอบเนื้อหา รายละเอียดของงานในหัวข้อที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย และได้แนะนำ ยกตัวอย่างข้อมูลในหัวข้อต่างๆ
2. อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันสนทนา อภิปราย ซักถามในเนื้อเรื่องที่เรียน
- กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์
- ช่วงเวลาที่จะนำภาษาไปใช้กับเด็ก
- เพลงสำหรับเด็ก
- การเสริมทักษะการใช้นิ้วมือ
3. ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ผู้สอนได้สอนร้องเพลง มีการใช้นำเสียงหนักเบา ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น สำหรับนักศึกษาบางส่วนไม่ค่อยร่วมแสดงความคิดเห็น บรรยากาศก็มีความสนุกสนาน ได้ฝึกคิด แสดงความคิดเห็นโต้ตอบ และได้รับความรู้ด้วย

^_^

13 ธันวาคม 2552

เพิ่มเติม Blog

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2552
1. อาจารย์แนะนำการเพิ่มเติมองค์ประกอบ Blog
- นิทานสำหรับเด็ก
- เพลงสำหรับเด็ก
2. อาจารย์สั่งงานให้ศึกษาค้นคว้าในหัวข้อเรื่องที่ได้รับมอบหมาย
- ลักษณะของภาษา

^_^

4 ธันวาคม 2552

การนำเสนองาน

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2552
แต่ละกลุ่มนำเสนองานจากการศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่ม 1 ความหมายของภาษา
ภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ เช่น คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ภาษามี 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษา
ความสำคัญของภาษา
- ทำให้สื่อสารได้เข้าใจตรงกัน
- ทำให้เกิดความสัมพันธ์ ความเข้าใจ ความรักกันในชุมชนที่มีวัฒนธรรมการใช้ภาษาเดียวกัน
กลุ่ม 2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
เพียเจต์ กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
เพียเจต์แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการ ดังนี้
ขั้นที่ 1 (แรกเกิด-2ปี) ใช้ประสาทสัมผัสและเคลื่อนไหว
ขั้นที่ 2 (2-7ปี) คิดก่อนปฏิบัติการ
ขั้นที่ 3 (7ปีขึ้นไป) คิดแบบรูปธรรม
ขั้นที่ 4 คิดแบบนามธรรม
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา
- เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
- ให้เด็กได้ใช้ภาษาโดยการพูดคุย สอบถาม เพราะภาษามีความสำคัญต่อการพัฒนาสติปัญญา
บรูเนอร์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของคนจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางสมอง จึงควรส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือกระทำ
บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาและการคิด ออกเป็น 3 ขั้น
1. ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ
3. ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์
กลุ่ม 3 จิตวิทยาการเรียนรู้
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
- แรงขับ เป็นพลังความต้องการภายในตัวบุคคล
- สิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้น
- การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาที่แสดงออกเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
- การเสริมแรง เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลที่มีผลในการเพิ่มพลัง
กลุ่ม 4 แนวคิดนักการศึกษา
กลุ่ม 5 หลักการการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

^_^